นาโนเทคโนโลยีเบื่องต้น http://jirapong.siam2web.com/





                 รวมคริปวิดีโอเกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์ทั้งที่เป็นกล้องแบบใช้  แสง และที่เป็น Electron microscope

 

   กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

 

 

 

 

 

   

  

  

  

  

  

  

  


    ภาที่ได้จากกล้องแบบใช้แสง






































      







     

   


    กล้อง Electron microscope



















































    




                           











                          





 ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=bfSp8r-YRw0&feature=related


ข่าวสารน่ารู้                      หมีน้ำ Super Animal


    มันคือสุดยอดสิ่งมีชีวิตที่มีชีวิตอยู่ได้ในน้ำเดือดและในที่ที่หนาวเย็นที่สุดของโลก  มันรับแรงดันมหาศาลในทะเลที่ลึกที่สุดได้สบายและมันทนรังสีเอ็กซ์ที่รุนแรงได้มากกว่ามนุษย์หลายร้อยเท่า มันอยู่ได้ในอวกาศ มันอยู่ได้เป็นร้อยปี มันมีอยู่ทุกที่ทั้งหนองน้ำ มหาสมุทร ภูเขา หรือแม้แต่บนหลังคาบ้าน
รู้จักหมีน้ำกันก่อน
    หมีน้ำ  มันกำลังมองคุณอยู่  คุณอาจจะมองไม่เห็น   เพราะเจ้าหมีน้ำตัวเล็กมากต่างหาก ถ้ามองด้วยตาเปล่า เราอาจจะเห็นมันเป็นแค่จุดเล็กๆ แบบข้างบน 
การมองเจ้าหมีน้ำต้องใช้กล้องจุลทรรศน์  กำลังขยายสัก 40 เท่า 
 

 

ถ้า ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดาแล้วอาจยังไม่เห็นรายละเอียดชัด  ลองมาดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนดีกว่า
 

 

     เราจะเห็นหน้าตาของน้ำชัดเจนแบบนี้ (การดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะไม่เห็นสีที่แท้จริง)
รูป รางหน้าตาของหมีน้ำมันมีขา 4 คู่ ลำตัวแบ่งเป็น 4 ปล้อง (ไม่นับส่วนหัว) ปลายขาแต่ละข้างมีเล็บยาวๆ แหลมๆ ดูน่ากลัว มีปากแหลมบ้าง เป็นท่อบ้าง  บางชนิดมีเส้นขนยาวๆ ที่เรียกว่า cirrus ยื่นออกมาตามตัว บางชนิดก็อ้วนกลมเหมือนหมี บางชนิดก็ตัวผอมยาวเหมือนหนอน 
 

 

หมีน้ำเล็บเหมือนแมว  ดูไปแล้วตัวเหมือนหมี  ดูไม่ดีเหมือนเห็บไร  ดูไกลๆ เหมือนธุลี

 

หมีน้ำบางชนิดก็อ้วนกลม บางชนิดก็ตัวยาว

ภาพขยายเล็บคมๆ ของหมีน้ำ นักวิทยาศาสตร์ใช้เล็บจำแนกชนิดของมันด้วย

หมีน้ำมีสีสันสวยงาม บางตัวสีแดง ขาว ส้ม เหลือง เขียว ม่วง ดำ และโปร่งใส  ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พบหมีน้ำประมาณ 700-800 ชนิด แต่คาดว่ามีจริงๆ กว่า 10,000 ชนิด 
 

 

สีสันอันสวยงามของหมีน้ำ

เห็นเล็กๆ แต่เจ๋งนะ
    หมีน้ำเป็นสัตว์ขนาดเล็กจิ๋วพกพาสะดวก ตัวเต็มวัยที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 1.5 มม. ส่วนที่ตัวเล็กๆ ก็มีขนาดประมาณ 0.1 มม. เท่านั้น
อ๋อต้องอธิบายก่อนนะครับว่าแม้จะตัวจิ๋วจนต้องมองส่องด้วยกล่องจุลทรรศน์ แต่เจ้าหมีน้ำเป็นสัตว์หลายเซลล์ (multicellular)  ไม่ใช่สัตว์เซลล์เดียว (unicellular) แบบพวกโปรโตซัวอย่าง อะมีบา พารามีเซียม 
 

 

แม้จะตัวเล็ก แต่หมีน้ำก็มีหลายเซลล์

         บางคนอาจงงว่าแล้วสัตว์เซลล์เดียวต่างกับสัตว์หลายเซลล์ยังไง

          สัตว์ซลล์เดียวคือ สัตว์ที่ทั้งตัวมันประกอบด้วยเซลล์แค่ 1 เซลล์  ส่วนหลายเซลล์คือตัวมันประกอบขึ้นจากเซลล์มากมาย (แบบมนุษย์)  เซลล์หลายเซลล์จะรวมกันเป็นเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อรวมกันเป็นอวัยวะ อวัยวะรวมกันเป็นระบบ และระบบรวมกันเป็นชีวิต  แต่พวกสัตว์เซลล์เดียวมันมีแค่ 1 เซลล์ก็เป็นชีวิตแล้ว (ดังนั้นตัวจะเล็กมาก)
หมีน้ำของเรามีหลายเซลล์ มันมีอวัยวะและระบบต่างๆ   อธิบายง่ายๆ ว่ามันเปรียบเหมือนแมลงที่ตัวเล็กมากแค่นั้นเอง
ไฟลัมส่วนตัวของหมีน้ำ
 

 

เพราะความแปลกประหลาดพิสดาร หมีน้ำจึงมีไฟลัมของมันเอง มันไม่ได้อยู่กลุ่มเดียวกับพวกแมลง ไส้เดือน หรือหมึก  ไฟลัมของมันมีชื่อว่า ทาร์ดิเกรดา (Tardigrada) ทำให้มันชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าตัวทาร์ดิเกรด (tardigrade) ซึ่งแปลว่า “เดินช้า”  
 

 
 
ทาร์ดิเกรด ชนิดต่าง ในไฟลัมทาร์ดิเกรดา

ไฟลัมทาร์ดิเกรดาเป็นไฟลัมที่มีลักษณะเฉพาะตัวสูง มันมีลักษณะก่ำกึ่งระหว่างสัตว์ไฮโซและสัตว์โลโซ  หมีน้ำมีระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบประสาท (มีสมองด้วย)  กล้ามเนื้อเหมือนสัตว์ชั้นสูงทั้งหลาย  แต่ไม่มีท่อหายใจ ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด (ไม่มีเส้นเลือด) และหายใจผ่านผิวหนัง เหมือนสัตว์ชั้นต่ำ  มันจึงดูเป็นสัตว์ที่สับสนชีวิตพอสมควรว่าควรจะมีชีวิตแบบไหนดี
 

 

หมีน้ำมีอวัยวะภายในซับซ้อนทั้งสมอง ตา หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และรังไข่

   นักวิทยาศาสตร์จึงจัดมันไว้กลางๆ อยู่ระหว่างพวกหนอนปล้องอย่างไส้เดือน กับพวกขาปล้องอย่างแมลง  แต่จากการวิเคราะห์ DNA พบว่ามันดันอยู่ใกล้เคียงกับพวกหนอนตัวกลมซะอีก ซึ่งก็ทำให้การจัดกลุ่มให้มันวุ่นวายพอสมควร  แต่ที่แน่ๆ คือมันไม่ได้เกี่ยวกับหมีแท้ๆ ที่เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังเลย
หมีน้ำผู้ครองโลก
         แม้เราจะมองไม่เห็นหมีน้ำ แต่มันมีอยู่ทุกที่อย่างไม่น่าเชื่อ   หมีน้ำอาศัยอยู่ทุกทวีป มีชีวิตได้ทั้งบนบก ในน้ำจืด ในน้ำทะเลเค็มปี๋ ใต้ดินมืดมิด ทะเลทรายแห้งแล้ง เกาะที่โดดเดี่ยว ตามบ้านเรือนมนุษย์ ฯลฯ  นอกจากแพร่กระจายตามแนวราบไปทั่วโลกแล้ว หมีน้ำยังแพร่กระจายตามแนวดิ่งอีกด้วย  เราพบมันบนเทือกเขาหิมาลัยที่ความสูงกว่า 6,000 เมตร และที่ทะเลลึกกว่า 4,000 เมตร เรียกว่าไปไหนเป็นต้องเจอมัน
 

 

หมีน้ำอาศัยอยู่ทั่วโลก แม้แต่ที่ที่เราคิดไม่ถึง

     หมีน้ำเป็นสัตว์น้ำ  มันอยู่ทุกที่ขอเพียงมีน้ำหรือความชื้นสักนิด (อย่าลืมว่ามันตัวเล็ก)  หมีน้ำเดิน กิน อึ หายใจ ผสมพันธุ์ และทำอีกหลายสิ่งในน้ำ   มันจะเดินไปตามพื้นหรือเศษสิ่งต่างๆ และกินอาหารพวกแบคทีเรีย พืชเล็กๆ มีบางชนิดเท่านั้นที่เป็นผู้ล่ากินสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ 

 

หมีน้ำเกาะอยู่บนเศษสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในน้ำ

     เพราะ ชีวิตนี้อยู่กับน้ำ หมีน้ำจึงมีบ้านแปลกประหลาดเกินบรรยาย ทั้งในน้ำพุร้อน ใต้น้ำแข็งที่หนากว่า 5 เมตร บนหลังคาบ้าน รางน้ำฝน ตามก้อนหิน หรือบนมอส ซึ่งเป็นที่ที่เราจะพบมันได้ง่ายที่สุด  เพราะมอสเป็นพืชที่ชุ่มชื้น ระหว่างใบจะมีหยดน้ำชื้นๆ  

 

บ้านในฝันของหมีน้ำคือมอส

         ถ้าอยากเห็นหมีน้ำ  ลองดึงแผ่นมอสที่อยู่ตามก้อนหินออกมา แล้วนำมาแช่น้ำในอ่าง ทิ้งไว้สักพัก ใช้หลอดดูดดูดเศษเล็กๆ ที่อยู่ที่ก้นอ่างขึ้นมา แล้ววางบนจานแก้วหรือแผ่นสไลด์  จากนั้นก็ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องหาพวกมัน    แต่ปัญหาคือกล้องจุลทรรศน์ไม่ได้มีทุกบ้านได้ง่ายๆ ดังนั้นโอกาสที่เราจะเห็นหมีน้ำจึงยาก 

           คราวนี้มาดูว่าทำไมหมีน้ำถึงเป็นซูเปอร์แอนิมอล 
       ในชีวิตปกติ หมีน้ำจะเดินไปมา กินแล้วก็อึ ใช้ชีวิตประสาหมีน้ำ  แต่เมื่อใดที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เช่น น้ำแห้ง น้ำท่วม อากาศเปลี่ยน มันจะเข้าสู่ระยะที่เรียกว่า cryptobiosis ถ้าจะแปลเป็นไทยจะประมาณ ภาวะลับหรือภาวะซ่อนเร้น   
 

 

กาวะหยุดนิ่ง ภาวะอมตะของหมีน้ำ

       ในภาวะหยุดนิ่ง หมีน้ำจะขดตัวเป็นก้อน หดขา มีขนาดลดลงเหลือ 1 ใน 3 มองดูเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต  และลดอัตราการเมตาบอลึซึม (การเผาผลาญอาหาร) มาเหลือแค่ 0.01% ของปกติ  เหมือนกับมันได้ตายไปแล้ว แต่ที่จริงมันยังไม่ตาย  มันทำแบบนี้เพื่อให้ทนกับสภาพแวดล้อมที่อันตรายต่างๆ ได้ 

       ภาวะหยุดนิ่งนี้ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับว่ามันเจอการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมแบบไหน เช่น ภาวะหยุดนิ่งเมื่อหนาว เมื่อขาดน้ำ เมื่อขาดออกซิเจน เมื่อเจอสารเคมี เป็นต้น  
 

หมีน้ำสามารถเปลี่ยนรูปร่างลักษณะตามสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม


        ความสามารถในการทนความร้อนของหมีน้ำ  โดยจับหมีน้ำในภาวะหยุดนิ่งโยนลงหม้อน้ำที่กำลังอุ่นๆ  ตอนนี้อุณหภูมิอยู่ที่ 70 องศาเซลเซียส เร่งไฟให้แรงขึ้นเป็น 80 องศา  เครื่องตรวจจับสัญญาณชีวิตบอกว่ามันยังไม่ตาย เพิ่มเป็น 100 องศา มันก็ยังไม่ตาย  เป็น 110 องศา   ยังไม่ตายอีก   ไป  120 องศา นั่นก็ยังไม่ตายอีก  เลยเปลี่ยนไปค้นคว้าข้อมูลและพบว่า หมีน้ำในภาวะหยุดนิ่งทนความร้อนได้สูงถึง 151 องศาเซลเซียส ความร้อนสูงขนาดนั้น น้ำยังเดือดพล่านจนระเหยเป็นไอ  อย่างมนุษย์แค่น้ำร้อนลวกนิดเดียวก็เจ็บปวดทรมานจะตายแล้ว  แต่หมีน้ำของเราทนได้สูงกว่านั้น   


 

ทนความร้อนได้ถึง 151 องศาเซลเซียส

 
      หมีน้ำเป็นสัตว์ที่เย็นชาที่สุดในโลก ว่ากันว่าที่อุณหภูมินี้อนุภาคทุกชนิดจะหยุดเคลื่อนไหว  เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดแห่งความหนาวชนิดที่ทำให้ขั้วโลกใต้ร้อนเป็นไฟไปเลย   มีการทดลองแสดงว่าหมีน้ำในภาวะหยุดนิ่งนั้นทนอุณหภูมิได้ถึง -272 องศาเซลเซียส นั่นเกือบถึงศูนย์องศาสมบูรณ์  แต่ไม่ใช่ว่ามันทนได้นานนัก มันอยู่ได้แค่ไม่กี่นาทีแล้วก็ตาย  แต่ถ้าที่อุณหภูมิประมาณ -200 องศาเซลเซียส เจ้าหมีน้ำจะทนได้เป็นวัน  

 

ทนความเย็นได้ถึง -272 องศาเซลเซียส

      คุณสมบัติอื่นๆของหมีน้ำคือทนแรงดันได้สูงมาก   มันอยู่ได้ในที่ที่มีแรงดันสูงถึง 6,000 atm  ซึ่งแรงดันปกติที่เราอยู่ทุกวันนี้คือแรงดันบรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 1 atm เท่านั้นเอง  ยิ่งเราขึ้นที่สูงหรือดำน้ำลงไปในทะเลลึก แรงดันก็จะมากขึ้นจนทำให้เรามีชีวิตลำบากหรืออาจเสียชีวิตได้  ส่วนแรงดัน 6,000 atm ที่หมีน้ำทนได้นี้ ก็สูงกว่าแรงดันของทะเลที่ลึกที่สุดในโลกเกือบ 6 เท่า
 


 
ทนแรงดันได้สูงถึง 6,000 atm

 
     หมีน้ำยังทนรังสีเอ็กซ์ปริมาณมากๆได้ด้วย มันทนได้กว่า 570,000 rads  อธิบายง่ายๆ คือมากกว่ามนุษย์ 10-20 เท่า มนุษย์ปกติจะเสียชีวิตที่ 1,000-2,000 rads เท่านั้น     นอกจากนี้หมีน้ำยังทนแสงยูวี และสารเคมีอื่นๆ อีกด้วย
 

 

ทนรังสีเอ็กซ์ได้ถึง 570,000 rads

     ในภาวะหยุดนิ่งหมีน้ำยังอยู่มีชีวิตอยู่ในสุญญากาศได้อีกด้วย  นั่นหมายความว่ามันอยู่ในอวกาศได้ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าด้วยคุณสมบัตินี้หมีน้ำจึงสามารถอยู่นอกโลกได้ แต่ก็ยังไม่เคยมีใครปล่อยหมีน้ำออกไปจริงๆ
     ดังนั้นเมื่อรวมคุณสมบัติ ต่างๆ เข้าด้วยกัน บางคนจึงเชื่อว่าหมีน้ำเป็นสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่เดินทางมาจากนอกโลกกับอุกก บาต   

 

สวัสดีชาวโลก

      ในภาวะหยุดนิ่งนี้  หมีน้ำอาจอยู่โดยไม่มีน้ำได้เป็น 10 ปี (ปกติมันมีอายุขัยเพียงไม่กี่เดือนก็ตาย) และมีงานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่ามันอยู่ได้ถึง 100 ปีเลยทีเดียว    ความสามารถในการทนสภาวะต่างๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ทรีแฮโลส (trehalose) ซึ่งพบที่เยื่อหุ้มเซลล์ของหมีน้ำ
 

 

หมีน้ำชรา อายุยืนเป็น 100 ปี

       และ เมื่อสภาพแวดล้อมกลับมาเป็นปกติ หมีน้ำก็สามารถฟื้นคืนสภาพมาใช้ชีวิตแบบปกติได้ด้วยน้ำเพียง 1 หยด   ขอเพียงมีแค่น้ำ มันก็จะฟื้นคืนชีพ และออกเดินด๊อกแด๊กไปมาเหมือนเดิม
 

 

ขอแค่น้ำก็ทำให้หมีน้ำฟื้นคืนชีพ

 
เรื่องเพศและการสืบพันธุ์  หมีน้ำส่วนใหญ่เป็นกระเทย (hermaphodrite) หมายถึงมีทั้งอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียในตัวเดียวกัน แต่บางตัวก็มีเพศเดียว  ซึ่งเมื่อดูคุณสมบัติการมีชีวิตรอดที่สุดยอดบวกกับการเป็นกระเทยแล้ว แม้หมีน้ำจะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ (ตัวผู้ผสมพันธุ์กับตัวเมีย) แต่มันก็สามารถสืบพันธุ์ได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ ซึ่งเรียกว่า parthenogenesis    คือการออกไข่ได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์  คืออยู่ดีๆ แม่หมีน้ำก็ออกไข่มาเลย
 

 

ไข่ของหมีน้ำอยู่ในตัว ก่อนที่มันจะวางไข่


        เรื่องเพศของหมีน้ำยังมีอะไรแปลกๆ อีกเยอะ บางชนิดมีตัวเมียเยอะกว่ามากถึง 90% และบางชนิดนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่พบตัวผู้เลย มีแต่ตัวเมียหมีน้ำบางชนิดจะออกไข่ไว้ในปลอกผิว หนังที่เกิดจากการลอกคราบ  ไข่ของหมีน้ำมีลักษณะหลากหลาย บางชนิดมีหนาม บางชนิดมีติ่งยื่นออกมา ดูแปลกและสวยงามเหมือนลูกปัด  นักวิทยาศาสตร์เองก็ใช้ไข่ในการจำแนกชนิดหมีน้ำด้วย
 


 

ไข่ของหมีน้ำรูปร่างสวยงามเหมือนกับดวงดาว

       หมีน้ำตัวน้อยที่เกิดมานั้นมีลักษณะคล้ายพ่อแม่ ตัวยาวประมาณ 0.05 มม. เท่านั้น มันจะลอกคราบหลายครั้งเพื่อเจริญเติบโตกลายเป็นหมีน้ำตัวใหญ่ 
 

 

ลูกหมีน้ำกับแม่ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าหมีน้ำไม่มีพฤติกรรมเลี้ยงดูลูกแต่อย่างไร

 
        หมีน้ำมีชีวิตมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ฟอสซิลที่เก่าที่สุดพบในช่วงกลางมหายุคแคมเบรียน (ก่อนยุคไดโนเสาร์) หมีน้ำยุคนี้มี 6 ขา คาดว่าจะเป็นบรรพบุรุษของหมีน้ำในปัจจุบัน  นอกจากนี้ก็ยังมีการพบฟอสซิลในยุคครีเทเชียสด้วย  ที่เราพบฟอสซิลของมันน้อยมาก เพราะมันมีขนาดเล็กมาก และผิวหนังก็ไม่เอื้อต่อการกลายเป็นฟอสซิล
 

 

         

 

มีเว็บไซด์ที่ให้ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับหมีน้ำและงานวิจัยอยู่มากมาย

          เรื่องหมีน้ำในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษากันกว้างขวางนะครับ นักวิจัยท่านไหนสนใจก็น่าจะลองศึกษาดูก็ได้  เพราะในต่างประเทศดูจะสนใจวิจัยเรื่องหมีน้ำกันมาก   

ดูวิดีโอแสดงการเคลื่อนไหวของ หมีน้ำ ได้ที่ 

http://video.google.com/googleplayer.swf?docid=8621981677427185677&hl=en

                                              http://video.google.com/googleplayer.swf?docid=714276628568416062&hl=en

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์
http://www.tardigrada.net
http://www.microscopy-uk.org.uk/mag/indexmag.html?http://www.microscopy-uk.org.uk/mag/artjun00/mmbearp.html
http://www.scientificblogging.com/dna_and_diversity/and_water_bear_it_is
http://www.darkroastedblend.com/2007/10/natures-great-survivors-water-bears.html
http://pathfinderscience.net/tardigrades/cbackground.CFM
หนังสือ
Animal ของ David Burnie
Animals of the World : Parragon Book
ภาพประกอบ จากเว็บไซต์ต่างๆ
วีดีโอ จาก
http://video.google.com/
 

































































 















 
























































































































































































 


.






Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 28,626 Today: 7 PageView/Month: 44

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...